วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

ทดสอบกลางภาค

1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
ตอบ   กฎหมาย คือข้อบังคับ กติกาของรัฐหรือของชาติ กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้บังคับ ควบคุมความประพฤติของบุคคลในสังคม ให้ปฏิบัติตาม หากมีการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและได้รับโทษตามที่กำหนดไว้
            การบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่า ประชาชนได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันจากรัฐ โดยต้องปฏิบัติต่อบุคคลที่เหมือนกันในสาระสำคัญอย่างเดียวกัน  และปฏิบัติต่อบุคคลที่แตกต่างกันในสาระสำคัญแตกต่างกันออกไปตามลักษณะเฉพาะของแต่ละคน   ดังนั้นถือว่าหลักความเสมอภาคเป็นหลักการพื้นฐานของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังนั้น การเลือกปฏิบัติโดยอาศัยเชื้อชาติ  ศาสนา  ภาษา  ถิ่นกำเนิด เพศ ฯ นอกจากขัดต่อหลักความเสมอภาคแล้ว ยังขัดต่อหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังจะเห็นได้ว่าหลักความเสมอภาคจะเป็นหลักการที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการตรวจสอบการกระทำของรัฐด้วยเช่นกัน อันเป็นการควบคุมมิให้รัฐกระทำการตามอำเภอใจ  ทั้งนี้เนื่องจากการกระทำของรัฐต้องทำเพื่อประโยชน์สาธารณะหากกระทำการใดอันเป็นการให้สิทธิพิเศษแก่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งและการกระทำดังกล่าวกระทบต่อประโยชน์สาธารณะแล้ว รัฐต้องให้เหตุผลของการกระทำดังกล่าว เพื่อแสดงว่ารัฐกระทำการไปโดยอำเภอใจหรือไม่
2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ เห็นด้วยอย่างยิ่งเพราะหลักประกันความมีมาตรฐานและคุณภาพของการประกอบวิชาชีพและเป็นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูให้สูงขึ้น ที่สำคัญข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะตาม พรบ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547
3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพนั้นจะอาศัยเพียงงบประมาณเพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ และทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ปกครอง และชุมชนจะต้องเข้ามาร่วมกันสนับสนุนเพื่อให้การจัดการศึกษาของโรงเรียนก้าวสู่ความเป็นเลิศได้ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้สำรวจพัฒนาการของโรงเรียนและได้ค้นพบรูปธรรรมของความสำเร็จที่อยู่ที่ การระดมทรัพยากร ซึ่งจะช่วยให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ทั้งนี้ สถานศึกษาทีมีความประสงค์จะระดมทรัพยากรจากผู้ปกครอง ชุมชน จะต้องเสนอโครงการที่ชัดเพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา โดยจะต้องเสนอแผนงาน นโยบาย ความคาดหวัง รวมทั้งการติดตามประเมินผล ขณะเดียวกันต้องดำเนินการอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้ และมีการนำเสนอผลการดำเนินการในช่วงปลายภาคเรียน       ตัวอย่างเช่น โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ เริ่มมีการระดมทรัพยากรมาแต่ปี 2549 โดยเราจะเน้นระดมทรัพยากรเพื่อมาเป็นค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากที่รัฐจัดสรรให้ จากโครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ คือ จะหาเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายจัดหาคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ไอที จ้างครูต่างชาติเพื่อสอนภาษา นอกจากนี้ ยังขอรับบริจาคจากผู้ปกครองโดยไม่บังคับว่าจะต้องจ่ายคนละเท่าไร แต่จะจูงใจสำหรับผู้ที่มีความพร้อมด้วยการที่ให้ผู้ปกครองนำใบเสร็จที่โรงเรียนออกให้ไปลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า
4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ มี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
การศึกษาในระบบ มี 2 ระดับ ประกอบด้วย
1. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งต้องจัดอย่าง 12 ปี ซึ่งรวมถึงการศึกษาปฐมวัยประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
2. ระดับการศึกษาอุดมศึกษา หรือหลังการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งจะแบ่งออกเป็นระดับต่ำกว่า
ปริญญา และปริญญา

5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ แตกต่างกัน เพราะ การศึกษาภาคบังคับ คือ เด็กจะต้องได้รับการศึกษาตั้งแต่ชั้นประถม 1 ถึงมัธยมศึกษา 3แต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การศึกษาที่รัฐต้องจัดให้ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย เป็นช่วงเวลาสิบสองปี โดยตั้งแต่การศึกษาชั้นประถม 1 ถึงมัธยมศึกษา 6 หรือเทียบเท่า ซึ่งหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจะจัดอย่างต่อเนื่อง 12 ปี แต่โอกาสที่ผู้เรียนจะเรียน ไม่ครบ 12 ปี เนื่องจากความจำเป็นต่างๆก็สามารถทำได้ คือ เรียนครบ 9 ปี ก็ออก ผู้เรียนก็จบการศึกษาภาคบังคับตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนด แต่หากผู้เรียนเรียนจบ 12 ปี เป็นการจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ เมื่อผู้เรียนเรียนจบการศึกษาภาคบังคับ
ไประยะหนึ่งแล้วถ้า ต้องการจะกลับ เข้ามาศึกษาต่ออีก 3 ปี ก็สามารถทำได้ตามสิทธิที่พึงจะได้รับที่รัฐจะต้องจัดให้
6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ มาตรา ๑๐ การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
1.สำนักงานรัฐมนตรี
2. สำนักงานปลัดกระทรวง
3. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
6. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ส่วนราชการตาม (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
ตอบ เหตุผล โดยที่บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในส่วนเกี่ยวกับคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและอนุคณะกรรมการข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นการศึกษา รวมทั้งบทบัญญัติอื่นที่เกี่ยวกับการบริหารงานของบุคคลงานของข้าราชการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีความไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน ทำให้การบริหารของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นไปโดยล่าช้าและไม่มีประสิทธิภาพ สมควรปรับปรุงบทบัญญัติดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นอันจะเป็นประโยชน์ในการบริหารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษายิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
ตอบ กระทำผิด เพราะ พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 ในมาตรา 43ให้วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ การกำหนดวิชาชีพควบคุมอื่นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
(2) ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
(3) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
(4) ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
(5) ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
(6) คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
(7) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
(8) บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด



9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง
ตอบ วินัย คือ กฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ และแบบธรรมเนียมที่กำหนดไห้ปฏิบัติตาม หรือไม่ให้ปฏิบัติ
โทษทางวินัยสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มี 5 สถาน คือ
ความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
1. ภาคทัณฑ์ เป็นโทษสำหรับกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย หรือมีเหตุ
อันควรลดหย่อน ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือน
นอกจากนี้ ในกรณีกระทำความผิดวินัยเล็กน้อย และมีเหตุอันควร
งดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้
2. ตัดเงินเดือน เป็นการลงโทษตัดเงินเดือนเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ของ
เงินเดือนและเป็นจำนวนเดือน เช่น ตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 2 เดือน เมื่อพ้นเวลา
2 เดือนแล้วก็จะได้รับเงินเดือนตามปกติ
3. ลดเงินเดือน เป็นการลงโทษโดยลดเงินเดือนเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์
เช่น ลดเงินเดือน 2% หรือ 4% ของอัตราเงินเดือนของผู้กระทำผิด
ความผิดวินัยร้ายแรง
4. ปลดออก เป็นการลงโทษให้พ้นจากราชการ โดยได้รับบำเหน็จ
บำนาญเสมือนผู้นั้นลาออกจากราชการ
5. ไล่ออก เป็นการลงโทษให้พ้นจากราชการ โดยไม่ได้รับบำเหน็จ
10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าใจของท่าน
ตอบ ในพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
เด็ก หมายถึง ผู้ซึ่งอายุไม่ครบ 18 ปีบริบูรณ์ และยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส หรือบุคคลอายุเกิน 7 ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์ หรือ บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีลงมา หรือบุคคลที่มีอายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ 

เด็กเร่ร่อนหมายถึง เด็กเร่ร่อนตามวิถีของครอบครัว ลักษณะของเด็กเร่ร่อนกลุ่มนี้ เปรียบแล้วเหมือนกับ "ยิปซี" ที่อพยพเคลื่อนย้ายไปทำมาหากินตามที่ต่างๆในพื้นที่ต่างๆ หากเด็กไทย กลุ่มนี้จะเร่ตามครอบครัวไปตามแหล่งงานใหม่ ได้แก่ งานในไร่อ้อย งานกรีดยาง จนถึงงานตามแหล่งก่อสร้างทั่วไป และงานขอทานที่เร่ขอและพักตามข้างทางในเมืองใหญ่  และเป็นเด็กเร่ร่อนที่หลุดออกมาจากครอบครัว ลักษณะของเด็กเร่ร่อนกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่ได้รับแรงผลักอย่างรุนแรงจากครอบครัวตั้งแต่ความแร้นแค้น ความลำบากในครอบครัว การถูกดุด่าและตบตีเป็นประจำ  การถูกบังคับใช้งานอย่างหนัก จนเด็กๆทนรับสภาพเหล่านี้ไม่ไหว จึงหนีออกมาจากบ้าน มาเร่ร่อนไปในที่ต่างๆและใช้ชีวิตของตนเองตลอดจนให้ชีวิตของตนเองอยู่รอด
เด็กกำพร้า หมายถึง  คือผู้ขาดบิดา ผู้เป็นกำลังสำคัญของครอบครัว หรือขาดมารดา ผู้เป็นกำลังใจและความอบอุ่น เด็กกำพร้าบางคน ขาดทั้งพ่อ ขาดทั้งแม่ ต้องอยู่ในความดูแลของผู้เป็นย่า หรือยาย หรือญาติคนอื่น ๆ ที่มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากจนอยู่แล้ว จึงทำให้ชีวิตของเด็กกำพร้ามีแต่ความทุกข์ยาก ขาดความอบอุ่น ขาดอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ขาดโอกาสทางการศึกษา ขาดสภาพแวดล้อมที่ดี ๆ ที่จะหล่อหลอมให้เขาเติบโตมาเป็นคนที่มีคุณภาพ ชีวิตของเด็กกำพร้ามี่แต่ความบกพร่อง เป็นเรื่องปกติที่เด็กที่ขาดความอบอุ่นทางใจ จะเสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย
เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบากหมายถึง เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด หมายถึง เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ทารุณกรรม หมายถึง   การกระทำที่เป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็ก การใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม  การทารุณกรรมทางกายมีทั้งแบบรุนแรงมากและรุนแรงน้อย ประเภทรุนแรงมากได้แก่ ตีด้วยมือ หรือวัตถุของแข็ง เตะ กัด จี้ด้วยของร้อน ทำ ร้ายด้วยอาวุธ เช่น มีด ปืน  เป็นต้น ส่วนการทารุณที่ไม่แรงนักได้แก่ การผลัก กระฉาก ตีก้น ไสหัว ขว้างวัตถุใส่ เป็นต้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น