วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 7

ให้นักศึกษาอ่านพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กและตอบคำถามต่อไปนี้
1.มีการบังคับใช้กำหนดไว้กี่วัน
          ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2.ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก ให้นักศึกษาอ่านและสรุปและให้
            ความหมายที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติดังกล่าว มีดังนี้
            เด็ก  เด็กเร่ร่อน  เด็กกำพร้า  เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก 
            เด็กพิการ  เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด  นักเรียน  นักศึกษา
            บิดามารดา  ผู้ปกครอง  ครอบครัวอุปถัมภ์ การเลี้ยงดูโดยมิชอบ
            ทารุณกรรม  สืบเสาะและพินิจ  สถานรับเลี้ยงเด็ก  สถานแรกรับ
   สถานสงเคราะห์  สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ 
         “เด็กหมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่
บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
          “เด็กเร่ร่อนหมายความว่า เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่
เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มี
พฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
          “เด็กกำพร้า” หมายความว่า เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดา
มารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
           “เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก” หมายความว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือ
บิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับ
ภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถ
ช่วยเหลือตัวเองได้
             “เด็กพิการ” หมายความว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง สติปัญญา
หรือจิตใจ ไม่ว่าความบกพร่องนั้นจะมีมาแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง
            “เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด” หมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่
ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อ
ศีลธรรมอันดี หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่
กำหนดในกฎกระทรวง
            “นักเรียน” หมายความว่า เด็กซึ่งกำ ลังรับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับ
ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทั้งประเภทสามัญศึกษาและอาชีวศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ใน
สถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน
             “นักศึกษา” หมายความว่า เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือ
เทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน
             “บิดามารดา” หมายความว่า บิดามารดาของเด็กไม่ว่าจะสมรสกันหรือไม่
             “ผู้ปกครอง” หมายความว่า บิดามารดา ผู้อนุบาล ผู้รับบุตรบุญธรรม และ
ผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้หมายความรวมถึงพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยง ผู้
ปกครองสวัสดิภาพ นายจ้าง ตลอดจนบุคคลอื่นซึ่งรับเด็กไว้ในความอุปการะเลี้ยงดูหรือซึ่งเด็ก
อาศัยอยู่ด้วย
             “ครอบครัวอุปถัมภ์” หมายความว่า บุคคลที่รับเด็กไว้อุปการะเลี้ยงดูอย่างบุตร
             “การเลี้ยงดูโดยมิชอบ” หมายความว่า การไม่ให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่ง
สอน หรือพัฒนาเด็กตามมาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนดในกฎกระทรวง จนน่าจะเกิดอันตรายแก่
ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
             “ทารุณกรรม” หมายความว่า การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด ๆ
จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศ
ต่อเด็ก การใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือ
ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
            “สืบเสาะและพินิจ” หมายความว่า การค้นหาและรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ
บุคคลและนำมาวิเคราะห์วินิจฉัยตามหลักวิชาการทางสังคมสงเคราะห์ แพทย์ จิตวิทยา กฎหมาย
และหลักวิชาการอื่นที่เกี่ยวข้องกับบุคคลและครอบครัวของบุคคลนั้น
            “สถานรับเลี้ยงเด็ก” หมายความว่า สถานที่รับเลี้ยงและพัฒนาเด็กที่มีอายุไม่เกิน
หกปีบริบูรณ์ และมีจำนวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป ซึ่งเด็กไม่เกี่ยวข้องเป็นญาติกับเจ้าของหรือ
ผู้ดำเนินการสถานรับเลี้ยงเด็กดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสถานพยาบาลหรือโรงเรียนทั้งของรัฐและ
เอกชน
           “สถานแรกรับ” หมายความว่า สถานที่รับเด็กไว้อุปการะเป็นการชั่วคราวเพื่อ
สืบเสาะและพินิจเด็กและครอบครัว เพื่อกำหนดแนวทางในการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพ
ที่เหมาะสมแก่เด็กแต่ละราย
         “สถานสงเคราะห์” หมายความว่า สถานที่ให้การอุปการะเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กที่
จำต้องได้รับการสงเคราะห์ ซึ่งมีจำนวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป
          “สถานคุ้มครองสวัสดิภาพหมายความว่า สถานที่ให้การศึกษา อบรม ฝึกอาชีพ
เพื่อแก้ไขความประพฤติ บำบัด รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจแก่เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ
3.คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก ประกอบด้วยใครบ้าง กี่คน
คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ประกอบด้วย  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานกรรมการ  ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นรองประธานกรรมการ   ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ อธิบดีกรมสุขภาพจิต อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริม
สวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ เป็นกรรมการ และ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แต่งตั้งจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีประสบการณ์ในการงานที่ทำในวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ครู จิตวิทยา กฎหมายแพทย์ ไม่น้อยกว่าเจ็ดปีวิชาชีพละสองคน โดยจะต้องมีผู้แทนจากภาคเอกชนอย่างน้อยวิชาชีพละหนึ่งคน และแต่งตั้งจากผู้มีประสบการณ์ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านสวัสดิการเด็กมาไม่น้อยกว่าเจ็ดปีอีกสองคน โดยมีรองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ซึ่งปลัดกระทรวงมอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการ
          กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่งต้องเป็นสตรีไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม
          คณะกรรมการจะแต่งตั้งข้าราชการในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้
4.กรรมผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งกี่ปี และพ้นจากตำแหน่งกรณีใดบ้าง
          มาตรา ๙  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งเพราะครบวาระอาจได้รับการแต่งตั้ง
อีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
          มาตรา ๑๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๙ กรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) รัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ มีความประพฤติ
เสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ
(๔) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
(๕) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๖) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๗) ขาดการประชุมติดต่อกันสามครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร
5.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูต่อไปจะต้องปฏิบัติตนต่อเด็กอย่างไรตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองเด็กฉบับนี้
           การปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีใด ให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญและไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมการกระทำใดเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก หรือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อเด็กหรือไม่ ให้พิจารณาตามแนวทางที่กำหนดในกฎกระทรวง
6.ผู้ปกครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กจะต้องไม่กระทำต่อเด็กในประเด็นใดบ้าง ยกตัวอย่าง
           ผู้ปกครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กจะต้องไม่กระทำต่อเด็กในประเด็นต่อไปนี้
 (๑) ทอดทิ้งเด็กไว้ในสถานรับเลี้ยงเด็กหรือสถานพยาบาลหรือไว้กับบุคคลที่รับจ้าง เลี้ยงเด็กหรือที่สาธารณะหรือสถานที่ใด โดยเจตนาที่จะไม่รับเด็กกลับคืน
(๒) ละทิ้งเด็กไว้ ณ สถานที่ใด ๆ โดยไม่จัดให้มีการป้องกันดูแลสวัสดิภาพหรือให้การเลี้ยงดูที่เหมาะสม
(๓) จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือสุขภาพอนามัยจนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
(๔) ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการขัดขวางการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็ก
(๕) ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการเลี้ยงดูโดยมิชอบ

7.ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กไม่ว่าเด็กจะยอมหรือไม่ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำต่อเด็กในประเด็นใดบ้าง
             ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการ ดังต่อไปนี้
(๑) กระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
(๒) จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือการรักษาพยาบาลแก่เด็กที่ อยู่ในความดูแลของตน จนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
(๓) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรหรือน่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำผิด
(๔) โฆษณาทางสื่อมวลชนหรือเผยแพร่ด้วยประการใด เพื่อรับเด็กหรือยกเด็กให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ญาติของเด็ก เว้นแต่เป็นการกระทำของทางราชการหรือได้รับอนุญาตจากทางราชการแล้ว
(๕) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม ยินยอม หรือกระทำด้วยประการใดให้เด็กไปเป็นขอทาน เด็กเร่ร่อน หรือใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการขอทานหรือการกระทำผิด หรือกระทำด้วยประการใดอันเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก
(๖) ใช้ จ้าง หรือวานเด็กให้ทำงานหรือกระทำการอันอาจเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจมีผล กระทบต่อการเจริญเติบโต หรือขัดขวางต่อพัฒนาการของเด็ก
(๗) บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กเล่นกีฬาหรือให้กระทำการใด เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้าอันมีลักษณะเป็นการขัดขวางต่อการเจริญเติบโต หรือพัฒนาการของเด็กหรือมีลักษณะเป็นการทารุณกรรมต่อเด็ก
(๘) ใช้หรือยินยอมให้เด็กเล่นการพนันไม่ว่าชนิดใดหรือเข้าไปในสถานที่เล่นการพนัน สถานค้าประเวณี หรือสถานที่ที่ห้ามมิให้เด็กเข้า
(๙) บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กแสดงหรือกระทำการอันมีลักษณะลามกอนาจาร ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าตอบแทนหรือเพื่อการใด
(๑๐) จำหน่าย แลกเปลี่ยน หรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็ก เว้นแต่การปฏิบัติทางการแพทย์
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งมีโทษตามกฎหมายอื่นที่หนักกว่าก็ให้ลงโทษตามกฎหมายนั้น
8.เด็กประเภทใดบ้างที่ควรได้รับการสงเคราะห์

          เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์   ได้แก่
(๑) เด็กเร่ร่อน หรือเด็กกำพร้า
(๒) เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง ณ ที่ใดที่หนึ่ง
(๓) เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้ด้วยเหตุใด ๆ เช่น ถูกจำคุก กักขัง พิการ ทุพพลภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง ยากจน เป็นผู้เยาว์ หย่า ถูกทิ้งร้าง เป็นโรคจิตหรือโรคประสาท
(๔) เด็กที่ผู้ปกครองมีพฤติกรรมหรือประกอบอาชีพไม่เหมาะสมอันอาจส่งผลกระทบต่อ พัฒนาการทางร่างกายหรือจิตใจของเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล
(๕) เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำหรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ถูกทารุณกรรม หรือตกอยู่ในภาวะอื่นใดอันอาจเป็นเหตุให้เด็กมีความประพฤติเสื่อมเสียในทาง ศีลธรรมอันดีหรือเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
(๖) เด็กพิการ
(๗) เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก
(๘) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
9.เด็กประเภทใดที่ควรได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ
          เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ   ได้แก่
(๑) เด็กที่ถูกทารุณกรรม
(๒) เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด
(๓) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
10.ในฐานะที่ท่านจะเป็นครูตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองเด็กท่านจะมีวืิธีการส่งเสริมความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษาอย่างไร และกรณีที่นักเรียนและนักศึกษามีความประพฤติไม่เป็นตามพระราชบัญญัตินี้ควรทำอย่างไร
            ต้องจัดให้มีระบบงานและกิจกรรมในการแนะแนวให้คำปรึกษาและฝึกอบรมแก่นักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมความประพฤติที่เหมาะสมความรับผิดชอบต่อสังคม และความปลอดภัยแก่นักเรียนและนักศึกษา ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
           กรณีที่นักเรียนและนักศึกษามีความประพฤติไม่เป็นตามพระราชบัญญัตินี้ควรให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดและมีอำนาจนำตัว ไปมอบแก่ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษาของนักเรียนหรือนักศึกษานั้น เพื่อดำเนินการสอบถามและอบรมสั่งสอนหรือลงโทษตามระเบียบ ในกรณีที่ไม่สามารถนำตัวไปมอบได้จะแจ้งด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ เมื่อได้อบรมสั่งสอนหรือลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษาแจ้งให้ผู้ปกครองว่ากล่าวตักเตือนหรือ สั่งสอนเด็กอีกชั้นหนึ่ง
11.พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กมีบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนในพระราชบัญญัตินี้ประเด็นอะไรบ้าง  มีโทษระวางปรับและจำคุกอย่างไรบ้างอธิบายยกตัวอย่าง

          มาตรา ๗๘ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          มาตรา ๗๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ มาตรา ๕๐ หรือมาตรา ๖๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          มาตรา ๘๐ ผู้ใดขัดขวางไม่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๐ (๑) หรือ (๕) หรือไม่ยอมส่งเอกสารหรือส่งเอกสารโดยรู้อยู่ว่าเป็นเอกสารเท็จแก่พนักงาน เจ้าหน้าที่เมื่อถูกเรียกให้ส่งตามมาตรา ๓๐ (๔) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดไม่ยอมมาให้ถ้อยคำ ไม่ยอมให้ถ้อยคำ หรือให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๐ (๓) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าผู้ให้ถ้อยคำกลับให้ข้อความจริงในขณะที่การให้ถ้อยคำยังไม่เสร็จสิ้น การดำเนินคดีอาญาต่อบุคคลนั้นให้เป็นอันระงับไป
         มาตรา ๘๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนดของศาลในการคุมความประพฤติ ห้ามเข้าเขตกำหนดหรือห้ามเข้าใกล้ตัวเด็กตามมาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
         มาตรา ๘๒ ผู้ใดจัดตั้งหรือดำเนินกิจการสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ หรือสถานพัฒนาและฟื้นฟูตามมาตรา ๕๒ โดยมิได้รับใบอนุญาตหรือใบอนุญาตถูกเพิกถอนหรือหมดอายุ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
          ถ้าผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติในวรรคหนึ่งได้ยื่นคำขออนุญาตหรือยื่นคำขอต่อใบ อนุญาตภายในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด การดำเนินคดีอาญาต่อบุคคลนั้นให้เป็นอันระงับไป
        มาตรา ๘๓ เจ้าของหรือผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับสถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ หรือสถานพัฒนาและฟื้นฟูผู้ใดไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎกระทรวง หรือระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติในวรรคหนึ่งได้ดำเนินการแก้ไขหรือปฏิบัติตามคำแนะ นำของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔ แล้ว การดำเนินคดีอาญาต่อบุคคลนั้นให้เป็นอันระงับไป
        มาตรา ๘๔ ผู้ใดกระทำการเป็นผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานแรกรับ สถานสงเคราะห์สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟูโดยมิได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๕๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
         มาตรา ๘๕ ผู้ใดกระทำการอันเป็นการยุยง ส่งเสริม ช่วยเหลือ หรือสนับสนุนให้นักเรียนหรือนักศึกษาฝ่าฝืนบทบัญญัติตามมาตรา ๖๔ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
        มาตรา ๘๖ ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๖๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

12.ใครเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กฉบับนี้
          พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร 

วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่6

1.พระราชบัญญัติเงินเดือนเงินวิทยะฐานะและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้ง 2 ฉบับ ประกาศใช้เมื่อใด 
ตอบ     ฉบับแรก 22 ธันวาคม 2547
ฉบับที่ 2 วันที่ 30 มีนาคม 2554
2. ตาม พรบ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554ข้อใด ไม่ใช่เงินเดือน

ตอบ     เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือน
3.คณะรัฐมนตรีสามารถออก พระราชกฤษฎีกา เงินเดือนฯในภาวะค่าครองชีพสูงได้ในอัตราเท่าไร

ตอบ    ไม่เกินร้อนละ 10
4.ได้รับการบรรจุเป็นครูผู้ช่วยได้รับเงินเดือนเท่าไร และเมื่อได้รับครบกำหนดกี่ปีจึงจะได้รับการแต่ตั้งเป็นครู 
ตอบ     คศ.และรับเงินเดือนเท่าไร
การบรรจุเป็นครูผู้ช่วยได้รับเงินเดือนคือ
ขั้นต่ำชั่วคราว 7,940 บาท
ขั้นต่ำ         8,700 บาท
ขั้นสูง         16,840 บาท
และเมื่อได้รับครบกำหนด 2 ปี จึงจะได้แต่งตั้งเป็นครู คศ. 1และได้รับเงินเดือน
ขั้นต่ำชั่วคราว 8,130 บาท
ขั้นต่ำ         11,930 บาท
ขั้นสูง         29,700 บาท

กิจกรรมที่5

         1.พ.ร.บสภาครู2546 ใช้บังคับเมื่อใด
                      ตอบ วันที่25 พฤษภาคม 2546
2. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูออกให้แก่ใครบ้าง 
ตอบ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา” หมายความว่า ครู ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพตาม
พระราชบัญญัตินี้
ครู” หมายความว่า บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอน
และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และ
อุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา ทั้งของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารสถานศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหาร
สถานศึกษาภายในเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาอื่นที่จัดการศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และ
อุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารการศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหาร
นอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
บุคลากรทางการศึกษาอื่น” หมายความว่า บุคคลซึ่งทำหน้าที่สนับสนุน
การศึกษา ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ
และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ ซึ่งหน่วยงานการศึกษากำหนดตำแหน่งให้
ต้องมีคุณวุฒิทางการศึกษา
3. คุรุสภามีวัตถุประสงค์อะไรบ้าง 
ตอบ มาตรา ๘ คุรุสภามีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ
(กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ
(ประสาน ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
4. อำนาจหน้าที่คุรุสภา มีอะไรบ้าง
ตอบ มาตรา ๙ คุรุสภามีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(กำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
(ควบคุมความประพฤติและการดำเนินงานของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
(ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอประกอบวิชาชีพ
(พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
(สนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรจาบรรณของวิชาชีพ
(ส่งเสริม สนับสนุน ยกย่อง และผดุงเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
(รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรของสถาบันต่างๆ ตามมาตรฐานวิชาชีพ
(รับรองความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพ รวมทั้งความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
(ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(๑๐เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของประเทศไทย
(๑๑ออกข้อบังคับของคุรุสภาว่าด้วย
(การกำหนดลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓
(การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาต และการรับรองความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาชีพ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
(หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอรับใบอนุญาต
(คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาต
(จรรยาบรรณของวิชาชีพ และการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
(มาตรฐานวิชาชีพ
(วิธีการสรรหา การเลือก การเลือกตั้ง และการแต่งตั้งคณะกรรมการคุรุสภาและคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
(องค์ประกอบ หลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหา
(หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาเลขาธิการคุรุสภา
(การใดๆ ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
(๑๒ให้คำปรึกษาหรือเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายหรือปัญหาการพัฒนาวิชาชีพ
(๑๓ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพหรือการออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศต่างๆ
(๑๔กำหนดให้มีคณะกรรมการเพื่อกระทำการใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคุรุสภา
(๑๕ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภาข้อบังคับของคุรุสภาตาม(๑๑นั้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีและเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
นอกจากอำนาจหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้คุรุสภามีอำนาจกระทำกิจการต่างๆภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ด้วย
(ถือกรรมสิทธิ์ หรือมีสิทธิครอบครองในทรัพย์สินหรือดำเนินการใดๆ
เกี่ยวกับทรัพย์สินตลอดจนรับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้
(ทำนิติกรรมสัญญาหรือข้อตกลงใดๆ
(กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภา
(สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
5. คุรุสภาอาจมีรายได้มาจากแหล่งใด
ตอบ มาตรา ๑๐ คุรุสภาอาจมีรายได้ ดังนี้
(ค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้
(เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
(ผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินและการดำเนินกิจการของคุรุสภา
(เงินและทรัพย์สินซึ่งมีผู้อุทิศให้แก่คุรุสภา
(ดอกผลของเงินและทรัพย์สินตาม () () (และ ()
รายได้ของคุรุสภาไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ รวมทั้งไม่อยู่ในข่ายการบังคับตามกฎหมายภาษีอากร
มาตรา ๑๑ ค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามประกาศของรัฐมนตรี ทั้งนี้ ต้องไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้
6. คณะกรรมการคุรุสภามีกี่คน ใครเป็นประธาน 
ตอบ มาตรา ๑๒ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียว่า คณะกรรมการคุรุสภาประกอบด้วย
(ประธานกรรมการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงด้านการศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือกฎหมาย
(กรรมการโดยตำแหน่ง ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
(กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนเจ็ดคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงด้านการบริหารการศึกษา การอาชีวศึกษา การศึกษาพิเศษ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกฎหมายด้านละหนึ่งคน ซึ่งในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นครู ผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหารการศึกษา ไม่น้อยกว่าสามคน
(กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะครุศาสตร์ หรือศึกษาศาสตร์ หรือการศึกษา ซึ่งเลือกกันเองจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐจำนวนสามคน และจากสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจำนวนหนึ่งคน
(กรรมการจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งเลือกตั้งมาจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจำนวนสิบเก้าคน ในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น และมาจากสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา สถาบันอาชีวศึกษา สถานศึกษาเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามสัดส่วนจำนวนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เลขาธิการคุรุสภาเป็นเลขานุการ
7. กรรมการคุรุสภาที่มาจากผู้แทนตำแหน่งครูต้อง ประกอบด้วย 
ตอบ มาตรา ๑๔ นอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓ กรรมการที่มาจากผู้ประกอบ
วิชาชีพทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งครู ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะดังต่อไปนี้
(เป็นผู้มีใบอนุญาตและไม่เคยถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
(เป็นผู้มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนมาแล้วรวมกันไม่น้อยกว่าสิบปีหรือดำรงตำแหน่งอาจารย์ ๓ หรือมีวิทยฐานะเป็นครูชำนาญการขึ้นไป                                                                                                 มาตรา ๑๕ นอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓ กรรมการที่มาจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหารการศึกษา หรือบุคลากรทางการศึกษาอื่น ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตามมาตรา ๑๔ (และต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอน และมีประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหารการศึษา หรือบุคลากรทางการศึกษาอื่น รวมกันไม่น้อยกว่าสิบปี
8. คณะกรรมการคุรุสภามีหน้าที่ อะไร ได้แก่
ตอบ มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการคุรุสภามีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(บริหารและดำเนินการตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของคุรุสภาซึ่งกำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
(ให้คำปรึกษาและแนะนำแก่คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
(พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพตามมาตรา ๕๔
(เร่งรัดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ หรือคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพปฏิบัติตามอำนาจและหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด
(แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อกระทำการใดๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา
(ควบคุมดูแลการดำเนินงานและการบริหารงานทั่วไป ตลอดจนออกระเบียบข้อบังคับ ประกาศ หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาในเรื่องดังต่อไปนี้
(การจัดแบ่งส่วนงานของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาและขอบเขตหน้าที่ของ
ส่วนงานดังกล่าว
(การกำหนดตำแหน่ง คุณสมบัติเฉพาะ อัตราเงินเดือน ค่าจ้าง และ
ค่าตอบแทนอื่นของพนักงานเจ้าหน้าที่ของคุรุสภา
(การคัดเลือก การบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน วินัยและการลงโทษทาง
วินัย การออกจากตำแหน่ง การร้องทุกข์ และการอุทธรณ์การลงโทษของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งวิธีการ
เงื่อนไขในการจ้างพนักงานเจ้าหน้าที่ของคุรุสภา
(การบริหารและจัดการการเงิน การพัสดุ และทรัพย์สินของคุรุสภา
(กำหนดอำนาจหน้าที่และระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายใน
(กำหนดนโยบายการบริหารงาน และให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
(ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา
(พิจารณาหรือดำเนินการในเรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
9. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีกี่คน ประธานคือใคร หน้าที่สำคัญ 
ตอบ มาตรา ๒๑ ให้มีคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย 14 คน
(ประธานกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการคุรุสภา
(กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คนซึ่งคณะกรรมการคุรุสภาสรรหาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงด้านการศึกษา การบริหาร และกฎหมาย
(กรรมการจากคณาจารย์ในคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ หรือการศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชนที่มีการสอนระดับปริญญาในสาขาวิชาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ หรือการศึกษาซึ่งเลือกกันเองจำนวนสองคน
(กรรมการจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจำนวนหกคน ซึ่งเลือกตั้งมาจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งครูที่มีประสบการณ์ด้านการสอนไม่น้อยกว่าสิบปี หรือดำรงตำแหน่งอาจารย์ ๓ หรือมีวิทยฐานะเป็นครูชำนาญการขึ้นไป ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งไม่น้อยกว่าสิบปี ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารการศึกษาที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งไม่น้อยกว่าสิบปี และบุคลากรทางการศึกษาอื่นที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งไม่น้อยกว่าสิบปีให้เลขาธิการคุรุสภา เป็นกรรมการและเลขานุการการกำหนดให้มีคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอื่น ให้เป็นไปตามข้อบังคับของคุรุสภา
มาตรา ๒๕ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(พิจารณาการออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต
(กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
(ส่งเสริม พัฒนา และเสนอแนะคณะกรรมการคุรุสภากำหนดมาตรฐานและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ
(ส่งเสริม ยกย่อง และพัฒนาวิชาชีพไปสู่ความเป็นเลิศในสาขาต่างๆ ตามที่กำหนดในข้อบังคับของคุรุสภา
(แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ หรือมอบหมายกรรมการมาตรฐานวิชาชีพเพื่อกระทำการใดๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
(ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
(พิจารณาหรือดำเนินการในเรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการคุรุสภามอบหมาย
ให้คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพเสนอรายงานการดำเนินงานประจำปีต่อ
10. ผู้เป็นเลขาธิการคุรุสภา จะต้องมีอายุไม่เกิน
ตอบ มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์และไม่เกินหกสิบห้าปี
11. ผู้ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ประกอบด้วยใคร ยกตัวอย่างประกอบ
(ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
(ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
(นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
(ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
(ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติหรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชนองค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
(คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
(ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
(บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
12. คุณสมบัติผู้ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู มีอะไรบ้าง
ตอบ (คุณสมบัติ
(มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
(ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
(ลักษณะต้องห้าม
(เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
(เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่คุรุสภาเห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
13. หากคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่ออก ไม่ต่อ ใบอนุญาต ต้องจัดกระทำอย่างไร 
ตอบ ผู้ขอรับใบอนุญาต ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตหรือผู้ขอรับใบแทนใบอนุญาต ซึ่งคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพพิจารณาวินิจฉัยไม่ออกใบอนุญาต ไม่ต่ออายุใบอนุญาต หรือไม่ออกใบแทนใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง อาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการคุรุสภาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการไม่ต่อใบอนุญาต หรือการไม่ออกใบแทนใบอนุญาตไม่ตัดสิทธิผู้ขอที่จะประกอบวิชาชีพที่ได้รับอนุญาตต่อไป ทั้งนี้ จนกว่าคณะกรรมการคุรุสภาจะได้มีคำวินิจฉัยถึงที่สุด
14. มาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย มาตรฐานอะไร
ตอบ มาตรา ๔๙ ให้มีข้อบังคับว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย
(มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
(มาตรฐานการปฏิบัติงาน
(มาตรฐานการปฏิบัติตน
15. มาตรฐานการปฏิบัติตน ประกอบด้วยอะไร
ตอบ มาตรา ๕๐ มาตรฐานการปฏิบัติตน ให้กำหนดเป็นข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ ประกอบด้วย
(จรรยาบรรณต่อตนเอง
(จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
(จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
(จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(จรรยาบรรณต่อสังคม
การกำหนดแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับของคุรุสภา
16. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัย มีหน้าที่
ตอบ มาตรา ๕๔ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(ยกข้อกล่าวหา
(ตักเตือน
(ภาคทัณฑ์
(พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกินห้าปี
(เพิกถอนใบอนุญาต
17. สมาชิกคุรุสภามี กี่ประเภทประกอบด้วย
ตอบ มาตรา ๕๘ สมาชิกของคุรุสภามีสองประเภท ดังนี้
(สมาชิกสามัญ
(สมาชิกกิตติมศักดิ์
18. สมาชิกภาพของสมาชิกคุรุสภาสิ้นสุดอย่างไร
ตอบ มาตรา ๖๑ สมาชิกภาพของสมาชิกย่อมสิ้นสุดเมื่อ
(ตาย
 (ลาออก
(คณะกรรมการคุรุสภามีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพเพราะขาดคุณสมบัติตาม
มาตรา ๕๙ สำหรับกรณีสมาชิกสามัญ
(คณะกรรมการคุรุสภามีมติถอดถอนการเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
(ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
19. สกสค.ย่อมาจาก อะไร
ตอบ คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
20. สกสค.มีกี่คน ใครเป็นประธาน 
ตอบ มี 22 คน ประกอบด้วย
มาตรา ๖๔ ให้คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากร
ทางการศึกษา ประกอบด้วย
(ปลัดกระทวงศึกษาธิการ เป็นประธาน
(กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคุรุสภา และเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสามคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงในด้านสวัสดิการสังคม บริหารธุรกิจ และกฎหมายด้านละหนึ่งคน
(กรรมการที่ได้รับการเลือกตั้งจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา จำนวนสิบสองคน ในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่มาจากสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาสถาบันอาชีวศึกษา สถานศึกษาเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ
21. ผู้ใดสอนโดยไม่มีใบอนุญาตจะต้องถูกดำเนินการอย่างไร 
ตอบ มาตรา ๗๘ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับ
ไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
22. ผู้ใดถูกพักใช้หรือแสดงตนว่ามีใบอนุญาตโดยเป็นเท็จมีโทษเป็นอย่างไร
ตอบ มาตรา ๗๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๖ หรือมาตรา ๕๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
23. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรบ.สภาครูฯ2546คือ ใคร
ตอบ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี)
24. อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เป็นอย่างไร
ตอบ อัตราค่าธรรมเนียม
(ค่าขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ฉบับละ ๖๐๐ บาท
(ค่าต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ครั้งละ ๒๐๐ บาท
(ค่าหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ฉบับละ ๓๐๐ บาท
(ค่าหนังสืออนุมัติ หรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญ
ในการประกอบวิชาชีพ ฉบับละ ๔๐๐ บาท
(ค่าใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ ๒๐๐ บาท