ให้นักศึกษาค้นหาคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหาให้มากที่สุดแล้วเขียนลงในกิจกรรมที่ 1 ของนักศึกษาอย่างน้อยคนละ 10 ชื่อ
ตัวอย่าง เช่น
คำว่าจรรยาบรรณ นิยาม สิ่งที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามถ้าไม่ปฏิบัติผิดจรรยาบรรณ
บอกที่มา เช่น ชื่อผู้แต่ง. (พ.ศ.). ชื่อหนังสือ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.
นายก.(2543).กฎหมายการศึกษา.กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพานิช.
กรณีอ้างอิงจากWebsite ตัวอย่างให้เขียนที่มาดังนี้
อภิชาติ วัชรพันธุ์. (2555). การจัดการความรู้ (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://apichatpan.blogspot.com [5 พฤศจิกายน 2555].
1.นิยามของคำว่ากฎหมาย
ความหมายของกฎหมาย มีผู้ให้คำนิยามไว้ดังนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย ทรงอธิบายว่า "กฎหมาย คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองแผ่นดินต่อราษฏรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตามต้องรับโทษ"
ความหมายของกฎหมาย มีผู้ให้คำนิยามไว้ดังนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย ทรงอธิบายว่า "กฎหมาย คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองแผ่นดินต่อราษฏรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตามต้องรับโทษ"
ศาสตราจารย์หลวงจำรูญเนติศาสตร์ อธิบายว่า "กฎหมาย ได้แก่ กฎข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติ ซึ่งผู้มีอำนาจของประเทศได้บัญญัติขึ้นและบังคับให้ผู้ที่อยู่ในสังกัดของประเทศนั้นถือปฏิบัติตาม"
จอห์น ออสติน ปรัชญาเมธีชาวอังกฤษอธิบายว่า "กฏหมาย คือ คำสั่ง คำบัญชาของรัฏฐาธิปัตย์ ซึ่งใช้บังคับบุคคลทั้งหลาย ถ้าผู้ใดไม่ปฏิบัติตามโดยปกติแล้ว ผู้นั้นต้องรับโทษ"
ตามพจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย ฉบับราชบัญฑิตยสถาน อธิบายความหมายของกฎหมาย ว่า "กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ให้การบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล"
จากคำนิยามของท่านผู้รู้ที่ได้กล่าวมาข้างต้น อาจสรุปได้ว่า กฎหมาย คือ บรรดาข้อบังคับของรัฐหรือประเทศที่ใช้ในการบริหารกิจการบ้านเมืองและใช้บังคับความประพฤติของบุคคล อันเกี่ยวด้วยความสัมพันธ์ระหว่างกัน ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและต้องถูกลงโทษ และเมื่อปฏิบัติตามก็ย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองหรือต่อสังคม
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
ไพศาล ภู่ไพบูลย์ อังคณา ตติรัตน์ และปนัดดา มีสมบัติงาม. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
ไพศาล ภู่ไพบูลย์ อังคณา ตติรัตน์ และปนัดดา มีสมบัติงาม. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
2. พระราชบัญญัติ คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา พระราชบัญญัติถือเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์รองมาจากรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ โดยปกติพระราชบัญญัติจะมีลักษณะเป็นการนำเอาหลักเกณฑ์สำคัญ ๆ ที่ต้องการให้ประชาชนทั่วไปปฏิบัติตามมากำหนดไว้ เพื่อเป็นหลักหรือเป็นแนวทาง รวมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งหลาย และกำหนดโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามด้วย สำหรับกระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นกระทำเช่นเดียวกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ที่มา : จันทมร สีหาบุญลี http://www.kpi.ac.th ( 8 พฤศจิกายน 2555)
3. ความยุติธรรม
ความยุติธรรม หมายถึง มีความเที่ยงธรรม เสมอภาคในคนทุกประเภท ไม่แบ่งแยกพวกเขาพวกเรา ไม่มีอคติ คือ ความลำเอียง
http://www.tumsrivichai.com ( 8 พฤศจิกายน 2555)
4.สิทธิ
สิทธิ คือ อำนาจอันชอบธรรม ซึ่งบุคคลทุกคนพึงมีพึงได้ โดยไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น
นายหยุด แสงอุทัย.(2514).ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรรมศาสตร์.
5.ฟ้องร้อง
ฟ้องร้อง คือ กล่าวหาบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยมีคำขอให้ศาลพิจารณาพิพากษา
http://www.online-english-thai-dictionary.com/definition. ( 8พฤศจิกายน 2555)
6.กฎหมายตามเนื้อความ
กฎหมายตามเนื้อความ หมายถึง กฎหมายซึ่งบทบัญญัติมีลักษณะเป็นกฎหมายแท้ คือ “ กฎหมายตามเนื้อความ” ได้แก่ข้อบังคับของรัฐซึ่งกำหนดความประพฤติของมนุษย์ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ
http://classroom.hu.ac.th/courseware/Law2/head.html ( 8 พฤศจิกายน 2555)
ความยุติธรรม หมายถึง มีความเที่ยงธรรม เสมอภาคในคนทุกประเภท ไม่แบ่งแยกพวกเขาพวกเรา ไม่มีอคติ คือ ความลำเอียง
http://www.tumsrivichai.com ( 8 พฤศจิกายน 2555)
4.สิทธิ
สิทธิ คือ อำนาจอันชอบธรรม ซึ่งบุคคลทุกคนพึงมีพึงได้ โดยไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น
นายหยุด แสงอุทัย.(2514).ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรรมศาสตร์.
5.ฟ้องร้อง
ฟ้องร้อง คือ กล่าวหาบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยมีคำขอให้ศาลพิจารณาพิพากษา
http://www.online-english-thai-dictionary.com/definition. ( 8พฤศจิกายน 2555)
6.กฎหมายตามเนื้อความ
กฎหมายตามเนื้อความ หมายถึง กฎหมายซึ่งบทบัญญัติมีลักษณะเป็นกฎหมายแท้ คือ “ กฎหมายตามเนื้อความ” ได้แก่ข้อบังคับของรัฐซึ่งกำหนดความประพฤติของมนุษย์ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ
http://classroom.hu.ac.th/courseware/Law2/head.html ( 8 พฤศจิกายน 2555)
7.พยาน
|
เป็นหลักฐานที่สามารถใช้นำสืบข้อเท็จจริง ประกอบกับการดำเนินคดีทางศาลและมีอยู่ สามประเภทได้แก่ พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ
นิภารัตน์ จงจิต. (2555). การจัดการความรู้ (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.thailaws.com/ [5 พฤศจิกายน 2555 |
8.หน้าที่ คือ กิจที่ควรทำ กิจที่ต้องทำ
ที่มา: ไพศาล ภู่ไพบูลย์. (2555). นิยามของกฎหมาย (ออนไลน์) สืบค้นจาก www.truepookpanya.com (8พฤศจิกายน 2555)
9. ความเสมอภาค คือ การที่บุคคลหรือประชาชนที่อยู่ในสถานะเดียวกัน ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการใช้บริการสาธารณะได้อย่างเดียวกันภายใต้ระบบเดียว กัน ซึ่งตัวแทนของรัฐบาลหรือข้าราชการของรัฐบาล ไม่สามารถที่จะเลือกปฏิบัติหรือการให้บริการกับประชาชนเฉพาะคนใด คนหนึ่งใด
9. ความเสมอภาค คือ การที่บุคคลหรือประชาชนที่อยู่ในสถานะเดียวกัน ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการใช้บริการสาธารณะได้อย่างเดียวกันภายใต้ระบบเดียว กัน ซึ่งตัวแทนของรัฐบาลหรือข้าราชการของรัฐบาล ไม่สามารถที่จะเลือกปฏิบัติหรือการให้บริการกับประชาชนเฉพาะคนใด คนหนึ่งใด
ที่มา: ไพศาล ภู่ไพบูลย์. (2555). นิยามของกฎหมาย (ออนไลน์) สืบค้นจาก www.truepookpanya.com (8พฤศจิกายน 2555)
10.บุคคล คือ สิ่งที่สามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมาย และมิได้หมายความเฉพาะมนุษย์ซึ่งก็เรียกว่าบุคคลธรรมดาเพียงอย่างเดียว แต่กฎหมายได้รับรองบรรดาคณะบุคคลหรือกิจการและทรัพย์สินบางอย่างตามกฎหมายที่กำหนดไว้ ให้เป็นบุคคลในความหมายของกฎหมายได้อีกประการหนึ่งกล่าวคือให้มีสิทธิและหน้าที่เหมือนบุคคลธรรมดา เช่น ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ แต่สิทธิและหน้าที่บางประการ ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่มนุษย์เพียงเท่านั้น เช่น การสมรส การรับรองบุตร ฯลฯ บุคคลซึ่งกฎหมายให้สิทธิพิเศษนี้ไว้เรียกว่านิติบุคคลซึ่งก็มีความหมายตามกฎหมายอยู่แล้ว
ที่มา: ไพศาล ภู่ไพบูลย์. (2555). นิยามของกฎหมาย (ออนไลน์) สืบค้นจาก www.truepookpanya.com (8พฤศจิกายน 2555)
11.นักกฎหมาย หมายถึง ผู้ที่ใช้ความรู้ทางกฎหมายเป็น วิชาการประกอบการงานที่ตนปฏิบัติในสาขาต่าง ๆ เป็นคำรวมหมายความถึงผู้ประกอบการงานทางกฎหมายทุกประเภท ไม่เฉพาะผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับศาล
ที่มา : ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง(2555)นักกฎหมาย (ออนไลน์ )สืบค้นจาก. http://th.wikipedia.org.th(8พฤศจิกายน 2555)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น